วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ลีลาศ

นางสาวฟาริดา สองจันทึก ชั้น ม6/4 เลขที่ 15


ประวัติความเป็นมาของลีลาศ

ความหมาย  “ลีลาศ” หมายถึงการเต้นเพื่อความสนุกสนานและได้พบกับบุคคลอื่นๆ ในสังคมในงานสังสรรค์ หรืองานราตรีสโมสร ลีลาศนี้ มีมานับเป็นพันๆ ปีแล้ว แต่เพิ่งมีหลักฐานแน่ชัดเมื่อประมาณ ปี ค.ศ.1400 ซึ่งได้อธิบายถึงการก้าวเดิน และดนตรีการเต้นรำแบบบอลรูม (Ballroom Dancing) เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างชาติและเผ่าพันธุ์ต่างๆ ถึงแม้ว่าชาวตะวันตกจะนิยมกันอย่างมาก แต่การเต้นรำแบบบอลรูมก็เป็นที่ยอมรับของชนทุกชาติ

ประวัติการลีลาศของประเทศไทย

 ไม่มีหลักฐานยืนยันได้แน่ชัดว่าการลีลาศในประเทศไทยเกิดขึ้นในสมัยใด สันนิษฐานว่า
ชาวต่างชาติได้นำมาเผยแพร่ในรัชสมัยของพรบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จุลศักราช 1226 จากบันทึกของแหม่มแอนนาทำให้มีหลักฐานเชื่อได้ว่า คนไทยลีลาศเป็นมาตั้งแต่สมัยพระองค์ และ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงรบการยกย่องให้เป็นนักลีลาศคนแรกของไทย ตาม บันทึกกล่าวว่า แหม่มแอนนาพยายามสอนพระองค์ท่านให้รู้จักวิธีการเต้นรำแบบสุภาพซึ่งเป็นที่ นิยมของชาวตะวันตก โดยบอกว่าจังหวะวอลซ์นั้นหรูมาก นิยมเต้นกันในวังของประเทศในแถบยุโรป พร้อมกับแสดงท่าทางการเต้น พระองค์ท่านกลับสอนว่าใกล้เกินไป แขนต้องวางให้ถูก แล้วพระองค์ท่านก็เต้นทำให้แหม่มแอนนาประหลาดใจ จึงไม่สามารถรู้ได้ว่าใครเป็นผู้สอนพระองค์ จึงได้ได้สันนิษฐานกันว่า พระองค์ท่านคงจะศึกษาจากตำราด้วยพระองค์เอง การเต้นรำ

ประเภทของลีลาศ

การลีลาศตามหลักมาตรฐานสากล หรือการเต้นรำแบบบอลรูม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. ประเภทบอลรูม หรือโมเดิร์น หรือสแตนดาร์ด (Ballroom or Modern or Standard)

 การลีลาศประเภทนี้จะมีลักษณะการเต้นและท่วงทำนองดนตรีที่เต็มไปด้วยความสุภาพ นุ่มนวล
อ่อนหวาน สง่างาม และเฉีบยขาด ลำตัวของผู้ลีลาศจะตั้งตรงผึ่งผาย ขณะก้าวนิยมลากเท้าสัมผัสไปกับพื้น จังหวะที่จัดอยู่ในการเต้นรำประเภทนี้มี 5 จังหวะ คือ 
1.1 ควิกสเตป (Quick Step)
 1.2 วอลซ์ (Waltz)
 1.3 ควิกวอลซ์ หรือเวียนนิสวอลซ์ (Quick Waltz or Viennese Waltz)
 1.4 สโลว์ฟอกซ์ทรอต (Slow Foxtrot)
 1.5 แทงโก้ (Tango)

 2. ประเภทละตินอเมริกัน (Latin American) 

การลีลาศประเภทนี้จะมีลักษณะการเต้นที่คล่องแคล่ว ปราดเปรียวกว่าประเภทบอลรูม ส่วนใหญ่จะใช้สะโพก เอว ขา และข้อเท้าเป็นส่วน
ใหญ่ ท่วงทำนองดนตรี และจังหวะจะเร้าใจและสนุกสนานร่าเริง จังหวะที่จัดอยู่ในการเต้นรำนี้มี 5 จังหวะ คือ 
2.1 คิวบัน รัมบ้า (Cuban Rumba)
 2.2 ชา ชา ช่า (Cha Cha Cha)
 2.3 แซมบ้า (Samba)
 2.4 ไจฟว์ (Jive)
 2.5 พาโซโดเบล้ หรือพาโซโดเบิ้ล (Paso Doble)
 สำหรับการลีลาศในประเทศไทยนั้น ยังมีการเต้นรำที่จัดอยู่ในประเภทเบ็ดเตล็ด (Pop and
social Dance) อีกหนึ่งประเภท ซึ่งจังหวะที่นิยมลีลาศกัน ได้แก่ จังหวะบีกิน (Beguine) อเมริกัน รัมบ้า (American Rumba) กัวราช่า (Guaracha) ออฟบีท (Off-Beat) ตะลุง เทมโป้ (Taloong Tempo)และร็อค แอนด์ โรลล์ (Rock and Roll) เป็นต้น

กฎกติกาของกีฬาลีลาศ

1. คำจำกัดความของคู่แข่งขัน
 คู่แข่งขัน 1 คู่ จะประกอบด้วย ชาย 1 คน และคู่เต้นที่เป็นหญิง 1 คน
2. คู่แข่งขันที่ต่างสัญชาติกัน
  1.1 คู่แข่งขันที่เคยเป็นตัวแทนประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่อนุญาตให้เป็นตัวแทนของประเทศอื่นอีก จนกว่าเวลาจะผ่านพ้นไป 12 เดือน
  2.2 ในกรณีที่เป็นการแข่งขัน ที่จัดโดยคณะกรรมการโอลิมปิคสากล ( IOC ) หรือสมาคมเวิลด์เกมส์นานาชาติ ( IWGA ) ไม่อนุญาตให้คู่แข่งขันที่ต่างสัญชาติกัน เข้าร่วมทำการแข่งขัน เพื่อให้เป็นไปตามกฎของคณะกรรมการโอลิมปิคสากล คู่แข่งขันที่เป็นตัวแทนของชาตินั้น นักแข่งขันแต่ละคน จะต้องมีหนังสือเดินทางของชาติของตน ซึ่งส่งโดยสมาคมที่เป็นสมาชิกของ สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
  2.3  การแข่งขันชิงถ้วย Formation ของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ( IDSF Championships / Cups Formation ) อย่างน้อยต้องมีนักกีฬาเข้าแข่งขันจำนวน 12 คน ในหนึ่งทีม ที่จะต้องจัดส่งหนังสือเดินทางของชาติตนเอง โดยสมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ
 

ประโยชน์ของการเต้นลีลาส 

       จากสภาพความเป็นอยู่ของคนในสังคมปัจจุบัน  ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้เกิดปัญหาที่สลับซับซ้อน  ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ  สังคมและการเมือง  สภาพการณ์เหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้ประชาชนประสบกับปัญหาต่าง ๆ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ  ซึ่งจิตแพทย์  นักจิตวิทยา  และนักการศึกษาต่างก็พยายามเน้นและชี้นำให้เห็นถึงความจำเป็น  เกี่ยวกับการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  โดยการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่สามารถผ่อนคลายความเครียด  และเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น  ลีลาศเป็นกิจกรรมหนึ่ง  ซึ่งนอกจากจะช่วยผ่อนคลายความเครียดแล้วยังช่วยพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์และสังคมได้เป็นอย่างดี  จึงพอสรุปประโยชน์ของการลีลาศได้  ดังนี้
1.  ก่อให้เกิดความซาบซึ้งในจังหวะดนตรี
2.  ก่อให้เกิดความสนุกสนาม  เพลิดเพลิน
3.  เป็นกิจกรรมนันทนาการ  และเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
4.  เป็นกิจกรรมสื่อสัมพันธ์ทางสังคม  ผู้ชายและผู้หญิงสามารถเข้าร่วมในกิจกรรมพร้อมกันได้
5.  ช่วยพัฒนาทักษะทางกลไก  (Motor  Skill)
6.  ช่วยส่งเสริมสุขภาพพลานามัย  ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ  ให้แข็งแรงสมบูรณ์อันจะทำให้มีชีวิตยืนยาวและมีความสุข
7.  ทำให้มีรูปร่างทรวดทรงงดงาม  สมส่วน มีบุคลิกภาพในการเคลื่อนไหวที่ดูแล้วสง่างาม    ยิ่งขึ้น
8.  ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทางด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์และสังคม
9.  ช่วยให้รู้จักการเข้าสังคม  และรู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคมได้เป็นอย่างดี
10. ช่วยส่งเสริมให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง  กล้าแสดงออกในสิ่งที่ดีงาม
11. ทำให้มีความซาบซึ้งในวัฒนธรรมอันดีงาม  และช่วยจรรโลงให้คงอยู่ตลอดไป
12. เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
13. เป็นกิจกรรมที่สามารถช่วยแก้ไขข้อบกพร่องทางกาย                       


อ้างอิงจาก  

http://www.oknation.net/blog/health-stnb/2011/01/12/entry-1